วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

งานประเพณีบวชลูกแก้ว (ปอยส่างลอง) ภาคฤดูร้อน ของวัดกู่เต้า



                          งานประเพณีบวชลูกแก้ว (ปอยส่างลอง) 
                         ภาคฤดูร้อน ของวัดกู่เต้า

 ความสำคัญ
ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ที่แม่ฮ่องสอนเป็นจำนวนมาก ชาวไทใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากรัฐฉาน ประเทศพม่า ได้มีการติดต่อสื่อสารคมนาคมและย้ายมาอยู่ที่ประเทศไทยและละแวกวัดกู่เต้ามีชาวไทยใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากจึงได้นำวัฒนธรรมปอยส่างลองหรือบวชลูกแก้วเข้ามาด้วย
                ตามความเชื่อของล้านนาเราครอบครัวใดมีลูกชายก็ต้องทำการบวชซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นบุญกุศลแก่ครอบครัว ในสมัยก่อนวัดเป็นแหล่งศึกษาวิชาความรู้ ยังไม่มีโรงเรียนเหมือนกับปัจจุบัน ดังนั้นครอบครัวที่มีลูกผู้ชายก็จะนำลูกมาบวชเป็นสามเณร ก็จะมีการทำพิธีปอยส่างลองเพื่อสืบอายุพุทธศาสนาและเล่าเรียนวิชา แล้วจะบวชต่อๆไปจนเป็นพระ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือจะบวชตั้งแต่เป็นเด็กกันหมด ทั้งหมดนี้เป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาของชาวไทใหญ่และชาวล้านนา
                ในปัจจุบันประเพณีได้มีการเปลี่ยนไปจะบวชเณรระยะยาวก็ไม่ได้จึงได้เปลี่ยนนำมารวมกันทั้งหมดเกิดเป็นการบวชภาคฤดูร้อนมีกำหนดระยะโครงการ 15 วัน หรือ 1 เดือน เป็นเวลาสั้นๆ เพื่อไม่ให้เยาว์ชนใช้เวลาในภาคปิดเทอมไปหลงมัวเมากับอบายมุข ไปเกเร ต่างๆนาๆ เพื่อนความสบายใจของผู้ปกครองและเป็นการรักษาประเพณีนี้ไว้

ขั้นตอนการจัดงานปอยส่างลอง
 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ในพิธีบวชส่างลอง
เครื่องอุปโภคของส่างลอง ประกอบด้วยเครื่องสูงต่างๆดังนี้
1.
ทีคำ คือร่มขนาดใหญ่ทำด้วยกระดาษหนาลงรักปิดทอง มีคันถือยาวขนาดถือแล้วเลยศีรษะผู้ที่ขี่คอของอีกคนหนึ่ง ใช้กั้นเป็นร่มบังแดดต่างฉัตร คำว่า ที แปลว่า ร่ม คำ คือทองคำ ทีคำก็คือร่มทองคำนั่นเอง
2.
น้ำเต้าหรือคนโท ใส่น้ำดื่มสำหรับอลอง ( ส่างลอง )
3.
พานหมาก เครื่องเสริมยศอลอง บรรจุหมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีด เมี่ยง
4.
พรม ใช้ปูอลองนั่ง
5.
หมอน ใช้สำหรับอลองนั่งอิงพักผ่อน ใช้คู่กับพรม

 
บริวารอลอง เนื่องจากอลองมีสถานภาพเปรียบเสมือนเป็นกษัตริย์ จึงต้องมีบริวารคอยปรนนิบัติรับใช้ตามสมควรดังนี้
1.
คนแต่งตัว ประมาณ 2 คน มีหน้าที่แต่งหน้า แต่งตัวให้อลอง เพราะจะต้องแต่งหน้าทาปาก เขียนคิ้ว เกล้ามวยผม แต่งตัวให้อลองตลอดระยะเวลาที่เป็นอลอง
2.
คนทำหน้าที่เป็นพาหนะให้อลองขี่คอ จำนวน 2-3 คนเป็นอย่างน้อยมีหน้าที่ให้อลองขี่คอพาไปในที่ต่างๆ ถ้าเป็นจางลอง คือที่ผู้บวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งมีอายุ 21 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวมาก ขี่คอคนไม่ไหวอาจใช้ม้าหรือช้างประดับตกแต่งเป็นพาหนะก็ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นม้าเพราะช้างหายากและอาจเป็นอันตรายได้ง่าย
3.
คนถือหม้อน้ำ
4.
คนถือพานหมวก
5.
คนถือทีคำมีหลายคนสับเปลี่ยนกัน
6.
คนถือพรมและหมอน
7.
คณะดนตร
ชุดเคลื่อนที่เร็ว เรียกว่าชุดกลองก้นยาว ประกอบด้วยกลองหน้าเดียวยาวประมาณวาเศษ ฆ้องขนาดกลาง 1 ใบ ขนาดเล็ก 1 ใบ ฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ตีให้จังหวะการฟ้อนรำของคนที่เป็นพาหนะของอลอง หรือเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่ามีอลองมา หรือบรรเลงเข้าขบวนแห่ไทยธรรม คณะดนตรีชุดนี้มีประมาณ 5-6 คน สับเปลี่ยนกันบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
 
 
เตรียมอุปกรณ์อื่น เจ้าภาพจะต้องเตรียมเครื่องใช้และวัสดุต่างๆ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องครัว หม้อ เตา จาน ถาด ช้อน ฯลฯ โดยเฉพาะข้าวสารอาหารแห้งจะต้องเตรียมไว้ให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีเครื่องทองของอลองที่จะต้องจัดหายืม หรือตัดเย็บขึ้นใหม่ รวมไปถึงเครื่องประดับตกแต่ง เช่น สร้อย แหวน ชฎา ฯลฯ

ขบวนแห่ประกอบด้วย
1. ขบวนจะเริ่มด้วยผู้อาวุโส ผู้เฒ่าผู้แก่แต่งชุดขาว อุ้มขันข้าวตอกดอกไม้ถือว่าเป็นผู้มีศีลธรรม ผู้บริสุทธิ์เดินนำหน้าขบวน
2.
ถัดมาเป็นกังสดาลใหญ่ ( จีเจ่ ) ตีเป็นระยะๆ เป็นเครื่องเสียงป่าวประกาศ ให้ได้ยินกันทั่วๆไป เมื่อใครได้ยินแล้วให้ร่วมอนุโมทนาหรือเดินทางมาร่วมทำบุญรวมทั้งเป็นการบอกกล่าวถึงเทวดาอารักษ์ต่างๆให้ได้ทราบถึงการทำบุญใหญ่ของชุมชน
3.
ม้าเจ้าเมือง เป็นม้าทรงของเจ้าเมือง ( เจ้าพ่อหลักเมือง ) ที่จะต้องอัญเชิญมาร่วมในขบวนเครื่องไทยธรรมในประเพณีปอยส่างลองทุกครั้งเป็นการให้เจ้าที่เคารพของชุมชนรับทราบและช่วยปกป้องคุ้มครองให้งานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากเหตุร้ายทั้งปวง
4.
ต้นตะแปส่าพระพุทธ-ต้นกัลปพฤกษ์ถวายเป็นพุทธบูชา
5.
ต้นตะแปส่าพระสงฆ์-ต้นกัลปพฤกษ์ถวายพระสงฆ์
6.
ปุ๊กข้าวแตก ข้าวตอกห่อด้วยผ้าขาวผูกต้นไม้ยาวส่างลองถวายพระสงฆ์
7.
เทียนเงิน เทียนทอง ธูปเทียนแพ เครื่องบูชาของส่างลองบูชาอุปัชฌาย์
8.
พุ่มเงิน พุ่มเงิน สำหรับส่างลองถวายพระพุทธเจ้าและประดับขบวน
9.
อูต่านปานต่อง คือ กรวยหมากพลูกับกรวยดอกไม้
10.
หม้อน้ำต่า หม้อดินใส่ผ้าขาวปิด จัดไว้เพื่อความร่มเย็นของงาน
11.
กลองมองเซิง กลอง 1 ใบ ฆ้องชุด 6 ใบ ฉาบ 1 ฉิ่ง 1
12.
ขบวนเครื่องอัฐบริขารและไทยธรรม นำเครื่องอัฐบริขารที่ใช้ในการบรรพชาและไทยธรรมทุกชิ้นมาเข้าขบวนแห่ให้ยิ่งใหญ่และสวยงาม
13.
ขบวนดนตรีพื้นเมืองกลอง กลองมองเซิงใช้บรรเลงประกอบขบวนทำให้เกิดความไพเราะรื่นเริงในขบวนเครื่องไทยธรรม หากมีดนตรีพื้นเมือง เช่น สะล้อ ซอ ซึง ก็จะนำมาบรรเลงด้วย
14.
ขบวนส่างลอง เป็นกลุ่มสุดท้ายในขบวน ขบวนแห่ส่างลองเป็นเสมือนการแสดงแสนยานุภาพของกษัตริย์ มีบริวารแห่แหนรายรอบเป็นขบวนยาวมีการฟ้อนรำเข้ากับดนตรี กลองก้นปิดท้าย บริวารส่างลองประกอบด้วย
-
คนที่เป็นพาหนะให้ส่างลองขี่คอ 2-3 คนสับเปลี่ยนกัน
-
คนคอยกางทีคำ ( ร่มใหญ่ปิดทอง )
-
คนถือพานหมาก คนถือน้ำเต้า ( ปัจจุบันไม่ใช้แล้วเพราะสิ้นเปลืองแรงงานมาก )
-
คณะดนตรีเคลื่อนที่เร็ว ( กลองก้นยาว )


ระยะเวลาการจัดงาน
  วันที่ ๑นำบรรดาเด็กชายมาเข้าพิธีโกนแต่ไม่โกนคิ้ว (พระพม่าไม่โกนคิ้ว) แต่งหน้าทาปากสวมเสื้อผ้าอาภรณ์สวย
และโผกผ้าแบบพม่า ประดับด้วยมวยผมของบรรพบุรุษที่เก็บรักษาไว้แล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ เสร็จแล้วนำเด็กน้อยซึ่ง
ตอนนี้เรียกว่า "ส่างลอย หรือ ลูกแก้ว" ไปขอขมา และรับศีลรับพรตามบ้านญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ 


วันที่ ๒มีการแห่ส่างลอง หรือ ลูกแก้ว กับขบวนเครื่องไทยทานไปตามถนนสายต่างๆ จะมีผู้มาร่วมขบวนมากมายโดย
ให้ส่างลอง หรือ ลูกแก้ว ขี่ม้าหรือถ้าไม่มีม้าก็จะขี่คอคน ซึ่งเรียกว่า "พี่เลี้ยง" หรือ "ตะแปส่างลอง  

 วันที่ ๓ จะแห่ส่างลองไปตามถนนอีกครั้ง จากนั้นก็ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีบวชเป็นสามเณรที่วัดตามคติความเชื่อ
ของทางล้านนา - ไทใหญ่ มีความเชื่อว่าบวชเณรได้กุศลอันยิ่งใหญ่





ผู้ให้ข้อมูล



 พระูครูจันทรังสีพิทักษ์
เจ้าอาวาสวัดเหล่าจันทรังษี










คณะผู้จัดทำ
     จีรพงษ์  แซ่ลี  54122434
     อภิเดช  ฟองคำตัน  54122458
     ณัฏฐพงษ์  บุญศิลป์  54122438
     นภัทร   สิงหนาท    541224
     จุฑมาศ  ศุชัยอุดม   54122403