ภาคฤดูร้อน ของวัดกู่เต้า
ความสำคัญ
ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ที่แม่ฮ่องสอนเป็นจำนวนมาก ชาวไทใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากรัฐฉาน ประเทศพม่า ได้มีการติดต่อสื่อสารคมนาคมและย้ายมาอยู่ที่ประเทศไทยและละแวกวัดกู่เต้ามีชาวไทยใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากจึงได้นำวัฒนธรรมปอยส่างลองหรือบวชลูกแก้วเข้ามาด้วย
ตามความเชื่อของล้านนาเราครอบครัวใดมีลูกชายก็ต้องทำการบวชซึ่งเชื่อกันว่าจะเป็นบุญกุศลแก่ครอบครัว ในสมัยก่อนวัดเป็นแหล่งศึกษาวิชาความรู้ ยังไม่มีโรงเรียนเหมือนกับปัจจุบัน ดังนั้นครอบครัวที่มีลูกผู้ชายก็จะนำลูกมาบวชเป็นสามเณร ก็จะมีการทำพิธีปอยส่างลองเพื่อสืบอายุพุทธศาสนาและเล่าเรียนวิชา แล้วจะบวชต่อๆไปจนเป็นพระ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือจะบวชตั้งแต่เป็นเด็กกันหมด ทั้งหมดนี้เป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาของชาวไทใหญ่และชาวล้านนา
ในปัจจุบันประเพณีได้มีการเปลี่ยนไปจะบวชเณรระยะยาวก็ไม่ได้จึงได้เปลี่ยนนำมารวมกันทั้งหมดเกิดเป็นการบวชภาคฤดูร้อนมีกำหนดระยะโครงการ 15 วัน หรือ 1 เดือน เป็นเวลาสั้นๆ เพื่อไม่ให้เยาว์ชนใช้เวลาในภาคปิดเทอมไปหลงมัวเมากับอบายมุข ไปเกเร ต่างๆนาๆ เพื่อนความสบายใจของผู้ปกครองและเป็นการรักษาประเพณีนี้ไว้
ขั้นตอนการจัดงานปอยส่างลอง
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ในพิธีบวชส่างลอง
เครื่องอุปโภคของส่างลอง ประกอบด้วยเครื่องสูงต่างๆดังนี้
1.ทีคำ คือร่มขนาดใหญ่ทำด้วยกระดาษหนาลงรักปิดทอง มีคันถือยาวขนาดถือแล้วเลยศีรษะผู้ที่ขี่คอของอีกคนหนึ่ง ใช้กั้นเป็นร่มบังแดดต่างฉัตร คำว่า “ ที “แปลว่า ร่ม “ คำ “คือทองคำ ทีคำก็คือร่มทองคำนั่นเอง
2.น้ำเต้าหรือคนโท ใส่น้ำดื่มสำหรับอลอง ( ส่างลอง )
3.พานหมาก เครื่องเสริมยศอลอง บรรจุหมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีด เมี่ยง
4.พรม ใช้ปูอลองนั่ง
5.หมอน ใช้สำหรับอลองนั่งอิงพักผ่อน ใช้คู่กับพรม
เครื่องอุปโภคของส่างลอง ประกอบด้วยเครื่องสูงต่างๆดังนี้
1.ทีคำ คือร่มขนาดใหญ่ทำด้วยกระดาษหนาลงรักปิดทอง มีคันถือยาวขนาดถือแล้วเลยศีรษะผู้ที่ขี่คอของอีกคนหนึ่ง ใช้กั้นเป็นร่มบังแดดต่างฉัตร คำว่า “ ที “แปลว่า ร่ม “ คำ “คือทองคำ ทีคำก็คือร่มทองคำนั่นเอง
2.น้ำเต้าหรือคนโท ใส่น้ำดื่มสำหรับอลอง ( ส่างลอง )
3.พานหมาก เครื่องเสริมยศอลอง บรรจุหมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีด เมี่ยง
4.พรม ใช้ปูอลองนั่ง
5.หมอน ใช้สำหรับอลองนั่งอิงพักผ่อน ใช้คู่กับพรม
บริวารอลอง เนื่องจากอลองมีสถานภาพเปรียบเสมือนเป็นกษัตริย์ จึงต้องมีบริวารคอยปรนนิบัติรับใช้ตามสมควรดังนี้
1.คนแต่งตัว ประมาณ 2 คน มีหน้าที่แต่งหน้า แต่งตัวให้อลอง เพราะจะต้องแต่งหน้าทาปาก เขียนคิ้ว เกล้ามวยผม แต่งตัวให้อลองตลอดระยะเวลาที่เป็นอลอง
2.คนทำหน้าที่เป็นพาหนะให้อลองขี่คอ จำนวน 2-3 คนเป็นอย่างน้อยมีหน้าที่ให้อลองขี่คอพาไปในที่ต่างๆ ถ้าเป็นจางลอง คือที่ผู้บวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งมีอายุ 21 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวมาก ขี่คอคนไม่ไหวอาจใช้ม้าหรือช้างประดับตกแต่งเป็นพาหนะก็ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นม้าเพราะช้างหายากและอาจเป็นอันตรายได้ง่าย
3.คนถือหม้อน้ำ
4.คนถือพานหมวก
5.คนถือทีคำมีหลายคนสับเปลี่ยนกัน
6.คนถือพรมและหมอน
7.คณะดนตรี ชุดเคลื่อนที่เร็ว เรียกว่าชุดกลองก้นยาว ประกอบด้วยกลองหน้าเดียวยาวประมาณวาเศษ ฆ้องขนาดกลาง 1 ใบ ขนาดเล็ก 1 ใบ ฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ตีให้จังหวะการฟ้อนรำของคนที่เป็นพาหนะของอลอง หรือเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่ามีอลองมา หรือบรรเลงเข้าขบวนแห่ไทยธรรม คณะดนตรีชุดนี้มีประมาณ 5-6 คน สับเปลี่ยนกันบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
1.คนแต่งตัว ประมาณ 2 คน มีหน้าที่แต่งหน้า แต่งตัวให้อลอง เพราะจะต้องแต่งหน้าทาปาก เขียนคิ้ว เกล้ามวยผม แต่งตัวให้อลองตลอดระยะเวลาที่เป็นอลอง
2.คนทำหน้าที่เป็นพาหนะให้อลองขี่คอ จำนวน 2-3 คนเป็นอย่างน้อยมีหน้าที่ให้อลองขี่คอพาไปในที่ต่างๆ ถ้าเป็นจางลอง คือที่ผู้บวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งมีอายุ 21 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวมาก ขี่คอคนไม่ไหวอาจใช้ม้าหรือช้างประดับตกแต่งเป็นพาหนะก็ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นม้าเพราะช้างหายากและอาจเป็นอันตรายได้ง่าย
3.คนถือหม้อน้ำ
4.คนถือพานหมวก
5.คนถือทีคำมีหลายคนสับเปลี่ยนกัน
6.คนถือพรมและหมอน
7.คณะดนตรี ชุดเคลื่อนที่เร็ว เรียกว่าชุดกลองก้นยาว ประกอบด้วยกลองหน้าเดียวยาวประมาณวาเศษ ฆ้องขนาดกลาง 1 ใบ ขนาดเล็ก 1 ใบ ฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ตีให้จังหวะการฟ้อนรำของคนที่เป็นพาหนะของอลอง หรือเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่ามีอลองมา หรือบรรเลงเข้าขบวนแห่ไทยธรรม คณะดนตรีชุดนี้มีประมาณ 5-6 คน สับเปลี่ยนกันบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
เตรียมอุปกรณ์อื่น เจ้าภาพจะต้องเตรียมเครื่องใช้และวัสดุต่างๆ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องครัว หม้อ เตา จาน ถาด ช้อน ฯลฯ โดยเฉพาะข้าวสารอาหารแห้งจะต้องเตรียมไว้ให้เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีเครื่องทองของอลองที่จะต้องจัดหายืม หรือตัดเย็บขึ้นใหม่ รวมไปถึงเครื่องประดับตกแต่ง เช่น สร้อย แหวน ชฎา ฯลฯ
ขบวนแห่ประกอบด้วย
1. ขบวนจะเริ่มด้วยผู้อาวุโส ผู้เฒ่าผู้แก่แต่งชุดขาว อุ้มขันข้าวตอกดอกไม้ถือว่าเป็นผู้มีศีลธรรม ผู้บริสุทธิ์เดินนำหน้าขบวน
2. ถัดมาเป็นกังสดาลใหญ่ ( จีเจ่ ) ตีเป็นระยะๆ เป็นเครื่องเสียงป่าวประกาศ ให้ได้ยินกันทั่วๆไป เมื่อใครได้ยินแล้วให้ร่วมอนุโมทนาหรือเดินทางมาร่วมทำบุญรวมทั้งเป็นการบอกกล่าวถึงเทวดาอารักษ์ต่างๆให้ได้ทราบถึงการทำบุญใหญ่ของชุมชน
3. ม้าเจ้าเมือง เป็นม้าทรงของเจ้าเมือง ( เจ้าพ่อหลักเมือง ) ที่จะต้องอัญเชิญมาร่วมในขบวนเครื่องไทยธรรมในประเพณีปอยส่างลองทุกครั้งเป็นการให้เจ้าที่เคารพของชุมชนรับทราบและช่วยปกป้องคุ้มครองให้งานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากเหตุร้ายทั้งปวง
4. ต้นตะแปส่าพระพุทธ-ต้นกัลปพฤกษ์ถวายเป็นพุทธบูชา
5. ต้นตะแปส่าพระสงฆ์-ต้นกัลปพฤกษ์ถวายพระสงฆ์
6. ปุ๊กข้าวแตก ข้าวตอกห่อด้วยผ้าขาวผูกต้นไม้ยาวส่างลองถวายพระสงฆ์
7. เทียนเงิน เทียนทอง ธูปเทียนแพ เครื่องบูชาของส่างลองบูชาอุปัชฌาย์
8. พุ่มเงิน พุ่มเงิน สำหรับส่างลองถวายพระพุทธเจ้าและประดับขบวน
9. อูต่านปานต่อง คือ กรวยหมากพลูกับกรวยดอกไม้
10. หม้อน้ำต่า หม้อดินใส่ผ้าขาวปิด จัดไว้เพื่อความร่มเย็นของงาน
11. กลองมองเซิง กลอง 1 ใบ ฆ้องชุด 6 ใบ ฉาบ 1 ฉิ่ง 1
12. ขบวนเครื่องอัฐบริขารและไทยธรรม นำเครื่องอัฐบริขารที่ใช้ในการบรรพชาและไทยธรรมทุกชิ้นมาเข้าขบวนแห่ให้ยิ่งใหญ่และสวยงาม
13. ขบวนดนตรีพื้นเมืองกลอง กลองมองเซิงใช้บรรเลงประกอบขบวนทำให้เกิดความไพเราะรื่นเริงในขบวนเครื่องไทยธรรม หากมีดนตรีพื้นเมือง เช่น สะล้อ ซอ ซึง ก็จะนำมาบรรเลงด้วย
14. ขบวนส่างลอง เป็นกลุ่มสุดท้ายในขบวน ขบวนแห่ส่างลองเป็นเสมือนการแสดงแสนยานุภาพของกษัตริย์ มีบริวารแห่แหนรายรอบเป็นขบวนยาวมีการฟ้อนรำเข้ากับดนตรี กลองก้นปิดท้าย บริวารส่างลองประกอบด้วย
- คนที่เป็นพาหนะให้ส่างลองขี่คอ 2-3 คนสับเปลี่ยนกัน
- คนคอยกางทีคำ ( ร่มใหญ่ปิดทอง )
- คนถือพานหมาก คนถือน้ำเต้า ( ปัจจุบันไม่ใช้แล้วเพราะสิ้นเปลืองแรงงานมาก )
- คณะดนตรีเคลื่อนที่เร็ว ( กลองก้นยาว )
2. ถัดมาเป็นกังสดาลใหญ่ ( จีเจ่ ) ตีเป็นระยะๆ เป็นเครื่องเสียงป่าวประกาศ ให้ได้ยินกันทั่วๆไป เมื่อใครได้ยินแล้วให้ร่วมอนุโมทนาหรือเดินทางมาร่วมทำบุญรวมทั้งเป็นการบอกกล่าวถึงเทวดาอารักษ์ต่างๆให้ได้ทราบถึงการทำบุญใหญ่ของชุมชน
3. ม้าเจ้าเมือง เป็นม้าทรงของเจ้าเมือง ( เจ้าพ่อหลักเมือง ) ที่จะต้องอัญเชิญมาร่วมในขบวนเครื่องไทยธรรมในประเพณีปอยส่างลองทุกครั้งเป็นการให้เจ้าที่เคารพของชุมชนรับทราบและช่วยปกป้องคุ้มครองให้งานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากเหตุร้ายทั้งปวง
4. ต้นตะแปส่าพระพุทธ-ต้นกัลปพฤกษ์ถวายเป็นพุทธบูชา
5. ต้นตะแปส่าพระสงฆ์-ต้นกัลปพฤกษ์ถวายพระสงฆ์
6. ปุ๊กข้าวแตก ข้าวตอกห่อด้วยผ้าขาวผูกต้นไม้ยาวส่างลองถวายพระสงฆ์
7. เทียนเงิน เทียนทอง ธูปเทียนแพ เครื่องบูชาของส่างลองบูชาอุปัชฌาย์
8. พุ่มเงิน พุ่มเงิน สำหรับส่างลองถวายพระพุทธเจ้าและประดับขบวน
9. อูต่านปานต่อง คือ กรวยหมากพลูกับกรวยดอกไม้
10. หม้อน้ำต่า หม้อดินใส่ผ้าขาวปิด จัดไว้เพื่อความร่มเย็นของงาน
11. กลองมองเซิง กลอง 1 ใบ ฆ้องชุด 6 ใบ ฉาบ 1 ฉิ่ง 1
12. ขบวนเครื่องอัฐบริขารและไทยธรรม นำเครื่องอัฐบริขารที่ใช้ในการบรรพชาและไทยธรรมทุกชิ้นมาเข้าขบวนแห่ให้ยิ่งใหญ่และสวยงาม
13. ขบวนดนตรีพื้นเมืองกลอง กลองมองเซิงใช้บรรเลงประกอบขบวนทำให้เกิดความไพเราะรื่นเริงในขบวนเครื่องไทยธรรม หากมีดนตรีพื้นเมือง เช่น สะล้อ ซอ ซึง ก็จะนำมาบรรเลงด้วย
14. ขบวนส่างลอง เป็นกลุ่มสุดท้ายในขบวน ขบวนแห่ส่างลองเป็นเสมือนการแสดงแสนยานุภาพของกษัตริย์ มีบริวารแห่แหนรายรอบเป็นขบวนยาวมีการฟ้อนรำเข้ากับดนตรี กลองก้นปิดท้าย บริวารส่างลองประกอบด้วย
- คนที่เป็นพาหนะให้ส่างลองขี่คอ 2-3 คนสับเปลี่ยนกัน
- คนคอยกางทีคำ ( ร่มใหญ่ปิดทอง )
- คนถือพานหมาก คนถือน้ำเต้า ( ปัจจุบันไม่ใช้แล้วเพราะสิ้นเปลืองแรงงานมาก )
- คณะดนตรีเคลื่อนที่เร็ว ( กลองก้นยาว )
ระยะเวลาการจัดงาน
วันที่ ๑นำบรรดาเด็กชายมาเข้าพิธีโกนแต่ไม่โกนคิ้ว (พระพม่าไม่โกนคิ้ว) แต่งหน้าทาปากสวมเสื้อผ้าอาภรณ์สวย
และโผกผ้าแบบพม่า ประดับด้วยมวยผมของบรรพบุรุษที่เก็บรักษาไว้แล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ เสร็จแล้วนำเด็กน้อยซึ่ง
ตอนนี้เรียกว่า "ส่างลอย หรือ ลูกแก้ว" ไปขอขมา และรับศีลรับพรตามบ้านญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ
วันที่ ๒มีการแห่ส่างลอง หรือ ลูกแก้ว กับขบวนเครื่องไทยทานไปตามถนนสายต่างๆ จะมีผู้มาร่วมขบวนมากมายโดย
วันที่ ๓ จะแห่ส่างลองไปตามถนนอีกครั้ง จากนั้นก็ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีบวชเป็นสามเณรที่วัดตามคติความเชื่อ
ของทางล้านนา - ไทใหญ่ มีความเชื่อว่าบวชเณรได้กุศลอันยิ่งใหญ่
Casino Near Me - MapyRO
ตอบลบFind your perfect 영천 출장샵 casino 경주 출장마사지 near you in Las Vegas, 오산 출장안마 NV. Casino 경상북도 출장마사지 Map, MapyRO, and other similar places to play. Find 과천 출장안마 your perfect casino near you.